เพิ่งจะรู้! ทำไมรถไฟฟ้าไม่สามารถขับไปชาร์จไป โดยไม่ต้องจอดชาร์จแบตแบบปัจจุบัน

เพิ่งจะรู้! ทำไมรถไฟฟ้าไม่สามารถขับไปชาร์จไป โดยไม่ต้องจอดชาร์จแบตแบบปัจจุบัน

เพิ่งจะรู้! ทำไมรถไฟฟ้าไม่สามารถขับไปชาร์จไป โดยไม่ต้องจอดชาร์จแบตแบบปัจจุบัน

ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์หลากหลายค่ายต่างก็ทุ่มเทอย่างหนักในการพัฒนารถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ยอมพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถชาร์จตัวเองในขณะวิ่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียบชาร์จเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากทำเช่นนั้นได้มันก็คงจะดีมิใช่น้อยใช่มั้ยละ

ต้องบอกว่าอันที่จริงแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ทุกคันสามารถชาร์จตัวเองขณะเคลื่อนที่ได้อยู่แล้ว ด้วยการทำงานของระบบที่เรียกว่า Regenerative braking ซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้า ขณะรถชะลอความเร็วเก็บไว้ยังแบตเตอรี่ ก่อนจะป้อนให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนต่อไป

อย่างไรก็ดี พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการชะลอความเร็วนั้น มีปริมาณค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก หากเทียบกับพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ในการขับเคลื่อน ไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มได้เหมือนกับการเสียบปลั๊ก แต่จะช่วยยืดระยะทางขับขี่ได้เล็กน้อย โดยเฉพาะการขับขี่ในเมืองที่มีการเหยียบเบรกอยู่บ่อย ๆ

และอย่างที่กล่าวไปแล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงรถ Hybrid จะสร้างกระแสไฟเฉพาะเวลาที่รถชะลอความเร็วหรือเหยียบเบรกเท่านั้น จะไม่ชาร์จขณะรถกำลังเร่งความเร็วหรือใช้ความเร็วคงที่โดยเด็ดขาด เนื่องจากกฎอุณหพลศาสตร์ หรือ Thermodynamics อธิบายไว้ว่า พลังงานไม่เคยหายไปไหน เพียงแต่เปลี่ยนรูปเท่านั้น

โดยไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่ ป้อนให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์เพื่อสร้างแรงไปขับเคลื่อนรถ เมื่อยกเท้าออกจากคันเร่ง รถจะเปลี่ยนพลังงานจลน์จากล้อที่กำลังหมุนกลับไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อชาร์จกลับไปยังแบตเตอรี่ นั่นแปลว่าพลังงานไฟฟ้าที่ถูก Regen จะไม่เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากแบตเตอรี่ตั้งแต่แรก เนื่องจากพลังงานได้ถูกแปรเปลี่ยนพลังงานจลน์เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของรถนั่นเอง

ดังนั้น หากรถมีการ Regen ขณะเคลื่อนที่ไปด้วยแล้วล่ะก็ จะยิ่งเป็นการเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่ และไฟฟ้าที่ได้จากการ Regen ก็จะไม่มีทางมากกว่าหรือเท่ากับไฟฟ้าที่ใช้ไปนั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมรถยนต์ไฟฟ้าชาร์จตัวเอง แบบไม่ต้องเสียบปลั๊กชาร์จนั้น จึงไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริง