สัญญาณอันตราย!! ยอดปิดโรงงานในไทยพุ่ง! เฉลี่ย 159 โรงงานต่อเดือน ไตรมาสแรกปีนี้สาหัส ปิดตัวลง 1,700 แห่ง ทำคนตกงาน 42,000 ตำแหน่ง

สภาอุตฯ คาดตัวเลขปิดโรงงาน-เลิกจ้างพุ่งอีก

สภาอุตฯ คาดตัวเลขปิดโรงงาน-เลิกจ้างพุ่งอีก

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2567 thaipbs รายงานว่า นายมงคล ไตรพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ระบุว่า ปัจจุบันการเลิกจากของบริษัทซับคอนแทรค ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก มีมากขึ้นช่วง 7-8 ปีมานี้ บริษัทหรือโรงงานต่างๆจะนิยมจ้างงานแบบเหมาค่าแรง เพื่อต้องการลดต้นทุนทั้งค่าจ้าง สวัสดิการต่าง ๆ จะไม่เท่ากับพนักงานประจำ ส่วนใหญ่แรงงานเหล่านี้ไม่กล้าเรียกร้องหรือต่อรองกับนายจ้าง และหากบริษัทหรือโรงงานต้องการเลิกจ้างก็สามารถทำได้ง่าย แรงงานเหล่านี้เมื่อถูกเลิกจ้าง จะถูกคืนตัวกลับไปยังบริษัทซับฯ ซึ่งก็มีเงื่อนไขตามกฎหมาย อีกหนึ่งโรงงานที่ประกาศเลิกกิจการ หยุดการผลิต คือ โรงงานผลิตรถยนต์ “ซูบารุ” ย่านลาดกระบัง พร้อมกับเลิกจ้างแรงงานทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมที่จะถึงนี้ โดยปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นนำเข้ารถยนต์ทั้งคันจากญี่ปุ่นแทน

สภาอุตฯ คาดตัวเลขปิดโรงงาน-เลิกจ้างพุ่งอีก นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจขยายตัวต่ำทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องปรับตัวลดความเสี่ยง ทั้งนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และนโยบายส่งเสริมการนำเข้ารถยนต์อีวี ล้วนกระทบความสามารถการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน รัฐบาล ไม่ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ทำให้ผลกระทบจากต้นทุนดอกเบี้ย พลังงานเชื้อเพลิง ค่าไฟ ตลอดจน ค่าจ้างขั้นต่ำที่บางพื้นที่เพิ่งปรับขึ้น กระทบสภาพคล่องในภาคอุตสาหกรรมรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ครึ่งปีแรกผู้ประกอบการไทยต้องปิดโรงงานไปแล้วมากกว่า 360 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 9,400 ล้านบาท เลิกจ้างแรงงานไปแล้วกว่า 10,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมประเมิน ยอดการปิดโรงงาน อาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 700 แห่ง หากรัฐบาล ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายระยะสั้น ควบคู่กับการแก้ไขกฎระเบียบภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ ตลอดจนสะสางปัญหาสินค้าด้อยมาตรฐานที่ทะลักเข้าประเทศ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ สำนักวิจัยเศรษฐกิจเกียรตินาคินภัทร รายงานว่า เศรษฐกิจไทย กำลังปรับตัวแย่ลง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาความสามารถในการแข่งขัน จนยอดปิดโรงงานเพิ่มขึ้น จาก 1,100 แห่ง เป็น 1,700 แห่ง ประกอบกับ ปัญหาหนี้เสียในระบบที่เพิ่มขึ้น กำลังกลายเป็นสัญญาณอันตรายของเศรษฐกิจไทย